50 วิธีใช้รถยนต์ ที่คุณไม่ควรมองห้าม

0 ความคิดเห็น
50 วิธีใช้รถยนต์ ที่คุณไม่ควรมองห้าม
1. เติมน้ำมันล้นถังไม่เป็นผลดี
ในสภาพอากาศร้อนจัดอย่า เติมน้ำมันจนล้นถัง
เพราะความร้อนจะทำให้เพิ่ม ความดัน
มีผลทำให้ น้ำมันขยายตัวลื่นไหลออกจากถังเกิดอันตราย สิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ
2. ลากเกียร์ทำให้คลัตช์เสียเร็ว
การใช้เกียร์ควรทำให้เหมาะสม และถูกจังหวะ อย่าลากเกียร์บ่อย
จะทำให้ คลัทช์เสียเร็วและยางหมดอายุเร็วขึ้น
3. อย่าขับรถจนน้ำมันหมดถัง
การขับรถจนน้ำหมด ถัง จะทำให้เครื่องกรองน้ำมันมีโอกาสเสียได้มาก
เนื่อง จากตะกอนบางอย่าง ที่สะสมอยู่ในถังจะไปค้างที่เครื่องกรอง
4. อย่าใช้อิฐแทนแม่แรงรถ
อิฐสร้างบ้านก้อนที่แข็งที่สุดยังสามารถ แตกได้
อย่าใช้รองหรือหนุนรถแทน แม่แรงต่างหาก เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้
5.ใช้แอลกอฮอล์ทำความสะอาด กระจก
แอลกอฮอล์มีคุณสมบัติช่วยฆ่าเชื้อโรคและยังใช้ทำความสะอาด อุปกรณ์ที่ เป็น
แก้วหรือกระจกได้ กระจกรถของคุณที่มีคราบสกปรก
จะถูก ขจัดได้ อย่างง่ายดายด้วยแอลกอฮอล์
6. สำรวจกระจกอย่าให้มีรอยร้าว
รอยร้าวที่กระจกเพียงเล็ก น้อย
จะทำให้ขยายวงกว้างไปสู่การแตกใหญ่ ได้ต้องหมั่นสำรวจอยู่เสมอ
การ เปิดแอร์เย็นจัดในขณะอากาศภายนอกร้อนจะทำให้กระจกหดตัวอย่างรวดเร็ว
เป็น สาเหตุให้เกิดการแตกของกระจกได้
7. เครื่องเป่าผมก็มีประโยชน์
รถ ที่สตาร์ทไม่ติด อันเนื่องมาจากปัญหาความชื้นลองใช้เครื่องเป่าผมเป่าความ
ร้อน บริเวณ เครื่องยนต์ที่คิดว่ามีความชื้นจนกว่าจะแห้ง
แล้วลองสตาร์ทใหม่ดู อีก ครั้ง
8.การควบคุมอารมณ์
การขับรถจำเป็นที่จะต้องควบ คุมอารมณ์ด้วยความอดทนยิ่งในสภาพรถติดแสน สาหัส
แบบบ้านเรายิ่งต้องมี ความจำเป็นอย่างยิ่ง โดยไม่สวมวิญญาณร้ายขณะขับรถ
ไม่ใช้วาจาหยาบคาย และอย่าพยายามสั่งสอนบทเรียนต่อผู้อื่น
9. โกรธและหงุดหงิดอย่าขับรถเด็ดขาด
อารมณ์โกรธและหงุดหงิด มีผลเสียอย่างยิ่งต่อการใช้รถใช้ถนน
ความกดดัน ทางอารมณ์จะทำให้มีผลต่อเนื่องไปยังผู้ขับขี่รถคนอื่น
และนำไปสู่การ เกิดอุบัติเหตุครั้งร้ายแรงได้
10. อย่าตอบโต้กับผู้ขับขี่รายอื่น
หากคุณอารมณ์เสียเนื่อง จากผู้ขับขี่รถคันอื่น
ต้องพยายามเก็บกด อารมณ์ไม่ตอบโต้ การตอบโต้จะทำให้เกิดผลร้ายต่อเนื่อง
อย่างน้อยจะทำให้ เราขาดสมาธิขาด การสังเกต สุดท้ายก็ลงเอยด้วยอุบัติเหตุ
เป็นไปได้น่าจะ จอดรถสงบสติ อารมณ์สักครู่
11. หลีกเลี่ยงการเดินทางในสภาพอากาศเลวร้าย
เรามั่นใจแค่ ไหนในการขับขี่รถในสภาพอากาศที่เลวร้าย เช่น ฝนตกหนัก
หมอก ลงจัด ทางที่ดีควรจะงดการขับรถ หันไปใช้บริการของรถสาธารณะจะดีกว่า
ทั้ง นี้ ต้องติดตามการพยากรณ์ของอุตุนิยมวิทยา
12. การปรับพวงมาลัย
รถ รุ่นใหม่สามารถปรับ แกนพวงมาลัยให้เข้ากับสภาวะร่างกายของผู้ขับขี่ได้
อย่า ปรับให้พวงมาลัย อยู่ในตำแหน่งที่มองแผงหน้าปัดยาก
ล็อคแกนพวงมาลัยให้ มั่นคงหลังจากปรับ ตำแหน่งจนได้ที่แล้ว
ห้ามปรับพวงมาลัยในขณะรถเคลื่อน ที่เด็ดขาด
13. เกียร์สูงสุด
เป็น เกียร์ที่ใช้กับอัตราเร็วสูง
แต่ให้กำลังน้อยที่สุดเราจะใช้เกียร์สูง สุดกับอัตราเร็วของรถยนต์ที่แตกต่าง
กันได้มา คุณสามารถใช้แล่นด้วยความเร็วคงที่บนถนนทางตรง
14. อย่าให้ไฟดวงหนึ่งดวงใดขาด
การใช้สัญญาณไฟจะทำให้รถคันอื่นที่ตาม หลัง หรือสวนทางเข้าใจในเจตนาของเรา
แต่ หากไฟสัญญาณดวงหนึ่งดวงใดขาดไป จะทำให้เป็นอันตรายแก่การใช้รถใช้ถนน
ควร ตรวจสอบและหาฟิวส์ หรือไฟอะไหล่ไว้ในรถบ้าง
15. ไฟเตือนภัยมีความสำคัญ
อย่าขับ รถยนต์ออกไปเด็ดขาด กรณีที่มีการเตือนของไฟบนแผงหน้าปัดขึ้น เช่น
ไฟ เตือนความดันน้ำมันหล่อลื่น เพราะจะทำให้เครื่องยนต์เสียหายได้
16. กระพริบไฟหน้าแทนแตร
การใช้ไฟสูง-ต่ำของไฟหน้า
ทำให้เกิดการ กระพริบสามารถเตือนผู้ขับขี่ราย อื่นด้วย
ที่คาดว่าจะไม่ได้ยินเสีสยแตร จากรถของเรา
17. อย่าปล่อยเกียร์ว่างให้รถเคลื่อนลงทางลาดเองไม่ถูกต้อง
การปล่อยให้รถไหลไปเองโดยไม่ใช้การขับเคลื่อนจะทำให้ควบคุมรถยนต์ยาก
โดย เฉพาะพวงมาลัยและเบรคเกียร์จะเข้ายากขึ้นอีกด้วย
18. ลดเกียร์ไม่จำเป็นต้องไล่ตามลำดับ
การลดลงเกียร์ต่ำไม่จำเป็นต้อง ไล่ตามลำดับ เช่น จากเกียร์ห้ามาเกียร์สาม
จาก เกียร์สามมาเกียร์หนึ่ง เช่นนี้ จะทำให้เรามีเวลามองถนน
และจับพวงมาลัย ได้นานขึ้น
19.ใกล้ ทางแยก อย่าเปลี่ยนเลนกะทันหัน
ต้องตัดสินใจให้ดีว่าคุณกำลังจะ ไปทางไหน ซ้าย-ขวา หรือตรง
อย่าตัดเลนซ้ายมาขวา หรือขวามาซ้าย บริเวณใกล้ทางแยกจะทำให้เกิดอุบัติเหตุ
หรือไม่ก็ถูกตำรวจจับแน่นอน
20.จะ ไม่มีการชนท้ายรถคนอื่นเด็ดขาด
ไม่ขับชิดคันหน้าเกิน ไปหรือกะระยะการทำงานของเบรคได้ถูกต้อง
21. สิ่งกีดขวางกลางถนน
บังเอิญ สิ่งกีด ขวางอยู่ในช่องจราจรของเรา
ตามหลักเราต้องให้รถยนต์วิ่งสวนทางมา ผ่านไป ก่อน
กรณีสิ่งกีดขวางอยู่ฝังตรงข้ามอย่าผลีผลามเหยียบคันเร่งเลย ไปเพราะ
รถคันสวนทางเราอาจไมยอมหยุดรถ
และหลบสิ่งกีดขวางออกมาในเลนของเราหน้าตาเฉย
22. สิ่งกีดขวางอยู่บนเนิน
นับว่าเป็นเรื่องท้าทายให้ต้องเพิ่ม ความระมัดระวังเป็น พิเศษ
การใช้เบรคจำเป็นอย่างยิ่งที่จะนำมาจัดการแก้ ปัญหานี้
23. แซงรถที่กำลังวิ่ง
ต้อง เข้าใจว่ารถคันหน้าที่กำลังวิ่งด้วยความเร็วหนึ่งหากเราคิดจะแซง
แน่นอน ว่าความเร็วของรถเราต้องมากกว่า
เมื่อหักลบกับความเร็วคันหน้าก็จะได้ ระยะทางที่ต้องใช้ในการแซง นั่นก็คือ
แซงรถกำลังวิ่งครั้งหนึ่งต้องใช้ เวลามากกว่าปกติ
ทางที่ดีไม่แน่ใจอย่าแซงจะดีกว่า
24. แซงระทางชัน
หาก เป็นรถที่บรรทุกของหนักและวิ่งช้ากว่าเรา การแซงจะใช้เวลาสั้นลงอย่างมาก
แต่พึงระวังรถสวนเลนตรงข้าม ซึ่งจะวิ่งลงทางลาดด้วยความเร็วสูง
25. อย่าเร่งรถหากกำลังถูกแซง
จะ เป็นการผิดมารยาทอย่างยิ่ง
หากรถของคุณที่กำลังถูกแซงเร่งเครื่องหนี ด้วยความเร็วเพิ่มขึ้น
เมื่อเห็นว่ารถคันขวาของคุณกำลังจะถูกแซง ต้องชะลอความเร็วรถของคุณ
เพื่อให้รถของเขาแซงขึ้นไปได้อย่างรวดเร็ว
26. ขับรถขึ้นเขา
กรณี ขับรถขึ้นเขาหรือเนิน แน่นอนว่ารถของคุณต้องใช้กำลังเพิ่มมากขึ้น
การ ขับต้องเปลี่ยนมาใช้เกียร์ต่ำกว่าเดิมเพื่อรักษาความเร็วของรถ
การ เปลี่ยนเกียร์ต้องเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว
เพราะขณะที่เรายกเท้าออกจากคัน เร่งแล้วเหยียบคลัตช์เปลี่ยนเกียร์
27. ขับรถลงทางลาด
ขึ้น เนินใช้เกียร์ต่ำเพื่อรักษา ความเร็วของรถ ลงทางลาดก็ต้องใช้เกียร์ต่ำ
เพื่อ ลดอัตราเร็วของรถแทนการ ใช้เบรค เพราะหากใช้เบรคในทางลาดมากไป
จะทำให้ เบรคลื่นและจับไม่อยู่ เนื่องจากมีความร้อนสูง
28. ออกตัวของรถขึ้นทางชัน
ผู้ขับขี่มือใหม่มักมีปัญหาการออกตัวขึ้น เนินแล้วรถเคลื่อนที่ถอยหลัง
ต้อง ฝึกให้มีความสามารถในการใช้คันเร่งคลัตช์และเบรคมือพร้อมกัน
โดยใช้เท้า ซ้ายกดแป้นคลัตช์ลง โยกคันเกียร์จากเกียร์ว่างไปยังเกียร์หนึ่ง
ใช้เท้า ขวากดแป้นคันเร่ง โดยกดให้มากกว่าการออกตัวบนพื้นระดับ
และต้องกดอย่าง สม่ำเสมอตามปริมาณชองความชัน
29. จดรถหันหน้าขึ้นเนิน
หลีก เลี่ยงได้ควรหลีก แต่ถ้าจำเป็นต้องจอดให้ชิดขอบขวาทางด้านซ้ายมากที่สุด
หมุน พวงมาลัย ให้ล้อหันไปทางขวาป้องกันการเคลื่อนที่ถอยหลังเป็นเกียร์หนึ่ง
และ ใช้ เบรคมือให้มั่นคง
30.จอด รถหันหน้าลงเนิน
หมุนพวง มาลัยไปทางซ้ายให้ล้อหันเข้าหา ขอบทางเท้า
ป้องกันไม่ให้รถเคลื่อนที่ เดินหน้าใส่เกียร์ถอยหลังและเบรค มือไว้
31. ทางโค้งนะ
ให้ สังเกตป้ายจราจรว่า โค้งไปทางขวาหรือทางซ้าย
การเข้าโค้งให้ใช้ เบรคเท้าควบคุมความเร็วของรถ
เลือกเกียร์ให้เหมาะสมใช้คันเร่งอย่าง ระมัดระวังและบังคับรถให้ชิดเส้นแบ่ง
ถนนทางขวาไว้จนตลอดทางโค้ง
32.ระวัง หลุดโค้ง
ปรกติ ทางโค้งจะมีทั้งป้ายจราจรเตือนล่วงหน้าและมีเสาหลักปักตามระยะโค้ง
แต่ หากผู้ขับขี่ไม่ควบคุมความเร็วเข้าโค้งด้วยความโค้ง
โค้งธรรมดาก็จะกลาย เป็นโค้งหักศอกให้ได้รับอันตรายให้เห็นกันอยู่บ่อย ๆ
33. ความดันลมของยางสัมพันธ์กับพวงมาลัย
ยางรถยนต์จะต้องมีความ ดันลมในปริมาณพอเหมาะไม่มากหรือ น้อยเกินไปถ้ามากไปทำ
ให้ยากสึกหรอ
ไม่ ยึดถนนและลื่นไถลทางโค้งแต่ หากความดันลมยางน้อยไปจะทำให้ยางร้อนจัดยาง
ไม่ เกาะถนนและสึกหรอง่าย
สังเกต ว่าความดันลมยางน้อยไปเมื่อพวงมาลัยมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น
34. เบรคบนทางโค้งอันตราย!
ควรหลีกเลี่ยงการใช้เบรคบนถนนทางโค้ง
เพราะ จะทำให้รถยนต์เสียการทรงตัว และมีแนวโน้มลื่นไถลหลุดโค้งออกไป
35. รถใหญ่บังรถเล็ก
รถใหญ่ที่วิ่งตามทางแยกอาจบัง รถเล็กอีกคันที่กำลัง แซงขึ้นมา
หากเราตัดสินใจเลี้ยวออกจากทางแยกแบบ ปัจจุบันทันด่วน โดยไม่ระวังให้ดี
อาจเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้
36.ถอย หลังทางไหนหมุนพวงมาลัยทางนั้น
การถอยหลังรถแรก ๆ
อาจ จะดูไม่ถนัด ต้องอาศัยประสบการณ์
โดยมีเคล็ดลับอยู่ว่าจะให้ส่วนท้ายของ รถหันไปทางไหนก็หมุนพวงมาลัยไปทางนั้น
ส่วนผู้ขับก็เอี้ยวตัวไปดูข้าง หลังโดยมือถือพวงมาลัยมือหนึ่ง
อีกมือพาด บนพนักพิงผู้โดยสาร
37.ข้อ ห้ามของการถอยหลัง
อย่าใช้วิธีกลับรถโดยการถอยหลัง จากถนนซอยสู่ถนนใหญ่
เมื่อไม่แน่ใจว่าปลอดภัย อย่าถอยหลังและอย่าถอยหลังเป็นระยะทางไกล ๆ
โดยไม่จำเป็น
38.ไฟ เขียวให้รีบไปแน่หรือ
การขับรถบริเวณทางแยกที่มีไฟจราจรกำกับและ เป็นไฟเขียวอยู่
ไม่ ตะบี้ตะบันเหยียบคันเร่งให้ทันสัญญาณไฟ
ควร สังเกตดูว่าไฟเขียวนั้นนาน แค่ไหน
แล้วสังเกตดูว่ารถจากถนนฝั่งหนึ่งมี แถวยาวเท่าใน
และควรขับ รถเว้นระยะกับรถคันหลังดูว่าหากเบรคกะทันหัน กรณีไม่ทันไฟเขียว
แล้วคุณ จะไม่ถูกชนท้าย
39.รีบ ร้อนไปไหนยังไฟแดงอยู่เลย
ผู้ขับขี่หลายรายต้องเสียอก เสียใจทุกวันนี้ เพราะประสบอุบัติเหตุ
เนื่องจากชอบออกรถในขณะที่สัญญาณ ไฟยังเป็นไฟแดงหรือเหลืองอยู่
โดยคาดเดาล่วงหน้าเกี่ยวกับการเปลี่ยน สัญญาณไฟจราจร
ในขณะที่รถอีกฝั่งยังไฟแดงอาศัยลูกติดพันจากไฟเขียว ผลก็คือ
ประสานงากันจังเบ้อเริ่ม เดือดร้อนกันทั่วหน้า
40. ถูกจี้ท้ายและเตือนด้วยไฟสูงต่ำ
หลายคนคงเคยเจอนักเลงกลางถนน โดยขับขี่อยู่ ดี
ๆก็มีรถคัน อื่นมาจี้ท้ายแถมใช้ไฟสูงต่ำยิงใส่ท้ายรถ
อย่า ตกใจและห้ามตอบโต้เด็ดขาด เพียงแต่ค่อย ๆ เปลี่ยนช่องจราจรไปทางซ้าย
เพื่อ ให้เกิดช่องว่างให้รถ คันหลังผ่านไปได้
41. กระจกหน้ารถต้องสะอาดอยู่เสมอ
กระจกหน้ารถที่สะอาด เมื่อเวลาฝนตก
ใบ ปัดน้ำฝนจะทำความสะอาดได้เร็วมากขึ้นมาก
ควรลด อัตราเร็วลงหากอุปกรณ์ปัดน้ำฝนทำงานไม่ทันกับปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมา
อย่าง หนัก
42.ไม่แตะเบรคขณะรถ ลื่นไถล
กรณีรถขาดการทรงตัว
เมื่อ เจอสภาพถนนมีน้ำมัน เกลื่อนกลาดอย่าตกใจยกเท้าออกจากคันเร่งและหมุนพวง
มาลัย ไปในทิศทางเดียว กับทิศทางการลื่นไถลโดยห้ามแตะเบรคโดยเด็ดขาด
เพราะจะทำ ให้สถานการณ์เลว ร้ายลงไปอีก
43. อย่าเพิ่งดับไฟขณะรุ่งสาง
การ รีบดับไฟ เมื่อขับรถตอนรุ่งสางไม่เป็นผลดีต้องให้แน่ใจว่าคุณสามารถมอง
เห็น ถนนและ ผู้ขับขี่คันอื่นอย่างชัดเจนเสียก่อนจึงค่อยดับไฟ กรณีรถมีสีคล้ำ
ดำ หรือน้ำเงิน ซึ่งไม่ค่อยสะท้อนแสงต้องเปิดไฟแต่เนิ่น ๆ
เมื่อเริ่มจะ มือและปิดไฟช้ากว่าคันอื่นเมื่อเวลารุ่งสาง
44. การใช้น้ำมันหล่อลื่น
การเติมน้ำมันหล่อลื่นต้องรักษาปริมาณให้ถึงขีดกำหนดของรถเสมอ
น้ำมัน หล่อลื่นเป็นสารอันตรายต่อผิวหนัง
ควรล้างมือทันทีและเก็บภาชนะบรรจุ น้ำมันให้ห่างไกลจากมือเด็ก
45. รถเสียระวังเสียงรถ
เมื่อรถ คุณเกิดเสียกลางทางแล้วมี อาสาสมัครเสนอตัวให้ความช่วยเหลือ
หากคุณไม่ แน่ใจพฤติกรรมอย่าลงจากรถ เด็ดขาด
ให้ผู้ผ่านกระจกแล้วล็อคประตูไว้วาน ให้ช่วยไปโทรศัพท์หาผู้ที่ คุณต้องการจะ
ติดต่อด้วยจะดีที่สุด
46.อุปกรณ์ พยาบาลที่ควรจะมีในรถ
เพื่อ ความปลอดภัยเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉน คุณควรมีสิ่งเหล่านี้ไว้ในรถ
พลา สเตอร์, ผ้าพันแผล ขวดพลาสติคใส่น้ำสะอาดไว้ กรรไกร คีม
ผ้าพันแผลแบบ ยืดหดได้ โคมไฟฟ้า เหรียญ(สำหรับโทรศัพท์)
47. เด็กเล็กก็ควรคาดเข็มขัด
อุบัติเหตุ หลายครั้งเด็กเล็กต้องเสียชีวิตหรือบาดเจ็บจำนวนมาก
ในเมือง นอกได้ออกแบบที่นั่งเฉพาะสำหรับเด็กไว้อย่างมาตรฐาน
โดยเฉพาะมีเข็มขัด นิรภัยให้เด็กคาดเข็มขัดด้วย
สำหรับเมืองไทยที่ยังไม่มีที่นั่งเด็กแพร่ หลาย
ก็อาศัยพี่เลี้ยงหรือผู้โดยสารไปด้วยคอยดูแล
อย่าปล่อยให้เด็ก เป็นอิสระเด็ดขาด
48. ทำยังไงเมื่อกระจกหน้ารถแตกละเอียด
อุบัติเหตุ เช่นนี้ เกิดขึ้นได้เมื่อรถแล่นด้วยความเร็วสูง
ต้องควบคุมสติให้ได้ผ่น อคันเร่ง หาที่จอดอย่าปลอดภัย
หากระดาษหนังสือพิมพ์มาคลุมหน้าปัดรถและ กระโปรงรถ ใกล้กระจกหน้าเพื่อป้องกัน
ไม่ให้เศษกระจกปลิวเข้ามา แล้วจึงหาอะไรมาค่อย ๆ ทุบกระจกที่แตกค้างออก
แล้วขับรถไปหาอู่ซ่อมโดย เร็ว
49.เบรคจม
อุบัติเหตุบางครั้งเกิดจากการที่อยู่ดี ๆ
คัน เบรคก็จมซึ่งทำให้การหยุด รถทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร
เป็นเช่นนี้ให้ลดความ เร็วลงค่อย ๆ
ปั๊มเบรค สองสามครั้งเพื่อให้ความร้อนไปไล่ฟองอากาศและความชื้นจากนั้นจึง
ค่อย ๆ ขับไปด้วยควมเร็วเป็นปกติ
50. น้ำมันท่วม
รถที่จอดนิ่งอยู่สตาร์ทหลายทีก็ไม่ติด
แถม ยังได้กลิ่นฉุนของน้ำมันแสดงว่าน้ำมันได้ท่วมคาร์บูเรเตอร์
แล้วควา คอยอย่างน้อยสิบนาที
เพื่อให้น้ำมันระเหยแล้วเริ่มติดเครื่องใหม่อีก ครั้ง

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น